วัตถุประสงค์และผลงาน
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้รับอนุญาตจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติให้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2491 โดยมี ดร.คลุ้ม วัชโรบล ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้แทนชุมนุมวิทยาศาสตร์ ไปขออนุญาตการจัดตั้งสมาคมฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ในหมู่สมาชิกและผู้สนใจในวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่สมาชิก รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาและค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป
วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ
ผลงานที่สำคัญของสมาคมฯ
พ.ศ. 2491
- กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไทย ร่วมกันก่อตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ
- เริ่มจัดพิมพ์วารสารวิทยาศาสตร์เผยแพร่เป็นครั้งแรก
- เริ่มให้ทุนการวิจัยเป็นครั้งแรกแก่ ดร.แถบ นีละนิธิ 6,000 บาท
พ.ศ. 2492
จัดประชุมทางวิทยาศาสตร์พร้อมด้วยการจัดแสดงทางวิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์ ณ ตึกฟิสิกส์ จุฬาฯ ระหว่าง วันที่ 7-11 ธันวาคม 2492 ครั้งแรก โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้อุปถัมภ์และเป็นประธานในพิธิเปิดงาน
พ.ศ. 2493
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และจัดทำภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์เรื่องแรกมีชื่อว่า “ทรัพย์ในดิน” เป็นภาพยนตร์สีธรรมชาติ มีความยาว 900 ฟุต ความยาว 20 นาที
พ.ศ. 2495
มูลนิธิเอเชียได้ให้การอุดหนุนแก่สมาคมฯ เป็นเงิน 43,000 ดอลล่าร์ (ประมาณ 900,000 บาท ตามอัตรา แลกเปลี่ยนในขณะนั้น)
พ.ศ. 2502
- รัฐบาลได้จัดสรรทุนอุดหนุนแก่สมาคมเป็นครั้งแรก โดยผ่านทางสภาการศึกษาแห่งชาติในขณะนั้น
-ส่งเสริมงานวิจัยโครงการ “เสาะแสวงหาปรีชาญาณ ทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย” Thailand Science Talent Search โดยมี ดร.ประดิษฐ์ เชี่ยวสกุล เป็นประธานโครงการ
พ.ศ. 2511
ริเริ่มโครงการ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้าฯ ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องในวโรกาสครบ 100 ปี ของการเสด็จสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีให้เป็นโครงการระดับชาติและดำเนินการ โดยกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2514
จัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วทท.) เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2517
จัดพิมพ์วารสาร ฉบับภาษาอังกฤษ Journal of the Society of Thailand (JSST) เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2525
- ขอพระบรมราชานุญาต ถวายพระนาม พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ได้รับอนุมัติให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และริเริ่มกิจกรรมเชิดชูเกียรติ โดยมอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น นักวิทยาศาสตร์อาวุโส และครูวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
-จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ระหว่าง 18-24 สิงหาคม เป็นปีแรก และได้จัดติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี
พ.ศ. 2526
วารสารวิทยาศาสตร์ของสมาคมฯ ได้รับรางวัลวารสารเฉพาะวิชาดีเด่น เนื่องในวาระฉลอง 700 ปี ลายสือไทยโดยคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ ของคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
พ.ศ. 2527
เริ่มโครงการเยาวชนไทยเข้าร่วมกิจกรรมวิทยาศาสตร์เยาวชนนานาชาติ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2529
จัดงานเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี “เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์เกียรติคุณ”
พ.ศ. 2532
ร่วมกับ สสวท. สมาคมวิชาการ และมหาวิทยาลัยต่างๆ จัดส่งเยาวชนไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์โอลิมปิก
พ.ศ. 2535
เริ่มโครงการจัดตั้งชุมนุมวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
พ.ศ. 2536
ได้รับรางวัลในการจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 (ววท. 18) ดีเด่นประจำปี จากสมาคม Thailand Incentive and Convention Association (TICA)
พ.ศ. 2540
ร่วมจัดตั้ง มูลนิธิบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(บวท.) เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2540
พ.ศ. 2541
- จัดงานครบรอบ 50 ปี ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541
- จัดทำหลักสูตรค่ายวิทยาศาสตร์ Science camp สำหรับนักเรียน และอบรมครูวิทยาศาสตร์ เรื่องการจัดทำค่ายวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2542
- ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ มูลนิธิซิเมนต์ไทย และคณะวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ของ 22 สถาบันอุดมศึกษาในประเทศ จำนวน 100 คน จัดทำหลักสูตรและคู่มือครู สำหรับอบรมครูวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประชุมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย และสสวท. รวม 200 คน เพื่อชี้แจงเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2542 การฝึกอบนี้มีทั้งภาคบรรยาย ปฏิบัติการ ดูงาน และให้ประกาศนียบัตร แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมและการสอบด้วย
- ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ จัดทำโครงการคัดเลือกโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมวิทยาศาสตร์ดีเด่น
- เปลี่ยนชื่อวารสารฉบับภาษาอังกฤษจาก Journal of the Science Society of Thailand เป็น Science Asia
- เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
กิจกรรมของสมาคมฯ
ด้านการศึกษา
ด้านการวิจัยและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ด้านการบริการและความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในประเทศและต่างประเทศ